Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102

My Friends

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

พระราชประวัติ รัชกาล 7

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์สุดท้าย ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ

rama-1

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระราชโอรสที่มีสิทธิสืบราชบัลลังก์

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น พระราชโอรสพระองค์สุดท้ายใน พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ พระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ฯ ภายหลังทรงศึกษา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้พอสมควรตาม ประเพณี ขัตติยราชกุมารแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้เสด็จไปทรง ศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ที่วิทยาลัยอีตัน (Eton College) ในชั้นมัธยม จากนั้นทรงเข้าศึกษาในโรงเรียน นายร้อยเมือง วูลิช (The Royal Military Academy, Woolwich) ทรงสำเร็จในวิชาการ ทหารปืนใหญ่ม้าและทรงได้ รับแต่งตั้งเป็น นายร้อยตรีกิตติมศักดิ์ แห่งกองทัพ บก อังกฤษ หลังจากนั้นเสด็จกลับมาทรงรับราช การเป็นนายทหารปืนใหญ่อยู่ ๖ ปี
ในปี พ. ศ. ๒๔๖๐ ได้ทรงผนวชและจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อเข้า ศึกษาพระธรรมวินัย และรับใช้บวรพุทธศาสนา จากนั้นทรงลาผนวช

ทรงอภิเษกสมรส

rama-2 
ทรงอภิเษกสมรส กับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พุทธศักราช 2461 ณ พระที่นั่งวโรภาสพิมาน พระราชวังบางประอิน ในวโรกาสนี้ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชชนนี โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังสุโขทัย พระราชทานเป็นเรือนหอ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอภิเษกสมรส กับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี พระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิ- วัดนวิสิษฐ์ ณ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวัง บางปะอิน เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๑


ทรงครองราชย์

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2468 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นเป็น " พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ "ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว "

file      
ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ต่อ ประเทศชาตินานับประการ อาทิ โปรดเกล้าฯ อุปถัมภ์บำรุงกิจการหอสมุดจัดตั้ง พิพิธภัณฑสถาน สำหรับพระนคร และสร้างสะพาน ปฐมบรม ราชานุสรณ์พระนคร (สะพานพระพุทธ ยอดฟ้าฯ) เพื่อเชื่อมฝั่งพระนคร และธนบุรี และ ทรงส่งเสริมการศึกษาของ ชาติหลายประการ คือ ให้ยกเลิกการเก็บเงินศึกษาพลีเร่งรัดการประกาศ พระราชบัญญัติ ประถมศึกษา ทรงเป็นพระมหา กษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่เสด็จพระราชดำเนินไป พระราชทานปริญญา บัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ในระดับอุดมศึกษา ในครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พุทธศักราช 2473 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ในวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๔ พระบรมวงศ์ชั้น ผู้ใหญ่และคณะเสนาบดี ได้กราบบังคมทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเสวยราช พระบรมราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๘


พระราชทานรัฐธรรมนูญ

file_1   
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 คณะบุคคลซึ่งเรียกตนเองว่า "คณะราษฎร" ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยพระ เป็น พระมหากษัตริย์ภายใต้ รัฐธรรมนูญพระองค์แรก ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร สยาม พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญถาวร ฉบับแรกของไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475
    

ทรงสละราชสมบัติ

file_2   
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พุทธศักราช 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ หลังจากทรงครองราชย์ เป็นเวลา 9 ปี 3 เดือน 4 วัน ขณะประทับอยู่ที่บ้าน โนลแครนลี ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้เนื่องด้วยความ คิดเห็นที่ขัดแย้งทางการเมืองบางประการ หลังจากนั้นได้ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษจนกระทั่งสวรรคตเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พุทธศักราช 2484 ขณะมีพระชนมายุ 48 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพเป็นการส่วนพระองค์อย่างเรียบง่าย ปราศจากพิธีการใด ๆ ที่สุสาน
โกลเดอร์ส กรีน (Golders Green)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น